ล่าสุดหลังประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้ปลดล็อกกัญชากัญชงออกจากยาเสพติด ในวันที่ 9 มิ.ย. เพื่อมุ่งเน้นให้ใช้ประโยชน์ในเชิงการแพทย์ ทำให้ผู้คนแห่ลงทะเบียนบนแอปพลิเคชันปลูกกัญแล้วกว่า 35 ล้านครั้ง และมีการค้าขายผลิตภัณฑ์จากกัญชากันอย่างคึกคัก จนเกิดความน่ากังวลว่าอาจมีการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด จนเกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมา วันนี้ SKY จึงขอแนะนำ 10 วิธีใช้กัญชากัญชงดูแลสุขภาพแบบสายคลีน ให้ทุกคนได้ดูแลสุขภาพกันอย่างถูกวิธีครับ
วิธีที่ 1 การใช้ตามตำรับยาแผนไทย
ตำราการแพทย์แผนไทย มีตำรับยาที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมถึง 16 ตำรับด้วยกัน ส่วนใหญ่ใช้รักษาเรื่องลม การนอนหลับ แก้ปวด โดยแนะนำว่าควรซื้อยาพร้อมรับคำแนะนำจากเภสัช หรือเข้ารับการรักษาโดยตรงจากแพทย์แผนไทย
วิธีที่ 2 หยดน้ำมันสกัดใต้ลิ้น
วิธีหยดน้ำมันสกัดใต้ลิ้นสำหรับผู้ที่ใช้ครั้งแรกควรเริ่มจากหยดใต้ลิ้นและหยดที่โคนลิ้น 1-2 หยด ต่อครั้ง แล้วใช้ลิ้นเกลี่ยให้ทั่วเหงือก รอให้ซึม 15 นาที โดยไม่กลั้วปาก เพื่อใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับสมอง และโรคเกี่ยวกับช่องปาก
วิธีที่ 3 การทานยาแบบแคปซูล
การรับประทานนั้นเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ซึ่งการใช้ยาในรูปแบบแคปซูลสามารถเจือจางความเข้มข้นของยาได้ตามความต้องการของแพทย์ผู้สั่งจ่ายและโรคที่นำไปใช้รักษา
วิธีที่ 4 การชงชาและการดื่มชา
การรักษาด้วยการชงชากัญชา เพื่อนำมาดื่มนั้นมีมาตั้งแต่ 1,000 ปีที่แล้ว โดยชงในอัตราส่วนตามที่อย.กำหนด ใช้เวลาต้มในน้ำเดือด 15 นาที พักไว้ 15 นาที แล้วรับประทาน จึงจะได้สารสำคัญสูงสุด ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการปวด อาการอักเสบ
วิธีที่ 5 ทาบำรุงรักษาผิวพรรณ
โรคผิวหนังรักษาได้ด้วยทาผลิตภัณฑ์สารสกัดจากกัญชา CBD ป้องกันหรือรักษาโรคเกี่ยวกับผิวหนังได้ เช่น สิว ฝ้า ผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน ผิวหนังไหม้จากแสงแดด มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
วิธีที่ 6 สูบแล้วกลั้นไว้
จริง ๆ แล้วการสูบกัญชานั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากสูบอย่างถูกต้อง นั้นคือไม่ใช้การสูบแบบเผาไหม้ และไม่อัดควันเข้าปอด เพียงแค่สูบแล้วกลั้นไว้แล้วปล่อยควันออกมา ซึ่งมีนักกีฬาที่ใช้กัญชาควบคู่กับการออกกำลังกาย เพื่อลดอาการบาดเจ็บ และช่วยให้ฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น
วิธีที่ 7 การหยอดตา
การใช้กัญชาในรูปแบบของยาหยอดตา ให้ซึมผ่านชั้นต่าง ๆ ของกระจกตาเข้าสู่ช่องหน้าม่านตาโดยตรง ช่วยลดความดันในตาของผู้ป่วยต้อหิน แต่เป็นการออกฤทธิ์ในระยะสั้น 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
วิธีที่ 8 ทารักษาแผลภายนอกร่างกาย
สารสกัดหรือน้ำมันจากกัญชาสามารถทาเพื่อรักษาแผลภายนอกร่างกายได้ เช่น แผลเบาหวาน โดยปริมาณการทาคือไม่เกิน 1 CC ต่อวัน สามารถช่วยลดความเจ็บปวดและสมานแผลได้
วิธีที่ 9 สวนทวารด้วยน้ำมันสกัดกัญชาด้วย
วิธีทำได้โดยใช้ไซริงค์ดูดน้ำมันสกัดจากกัญชาที่ผสมกับน้ำมันมะพร้าว ต่อเข้ากับสายน้ำเกลือ ที่สอดเข้าไปในที่รูทวารลึกประมาณ 2 นิ้ว แล้วดันไซริงค์ให้ตัวยาไหลเข้าสู่สายยางทีละนิด จนน้ำมันสกัดหมด เพื่อการรักษาโรคตับโดยตรง
วิธีที่ 10 เหน็บในช่องคลอด
วิธีนี้เป็นวิธีรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือโรคมะเร็งปากมดลูก โดยการใช้ยาเหน็บที่มีสารสกัด หรือการแช่แข็งน้ำมันสกัดกัญชา สอดเข้าช่องคลอดลึกประมาณ 2-3 นิ้ว
ข้อควรระวัง สารสกัดหรือน้ำมันกัญชากัญชงจะไม่ออกฤอธิ์ทันที แต่จะออกฤทธิ์หลังจากการดูดซึมประมาณ 1-3 ชั่วโมง
3 ข้อปฏิบัติก่อนใช้สารสกัดหรือน้ำมันกัญชากัญชง
1. จำเป็นต้องทราบข้อมูลก่อนการตัดสินใจใช้สารสกัดหรือน้ำมันกัญชา
2. ไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจรักษาและปรึกษา
การใช้สารสกัดกัญชาหรือน้ำมันกัญชา
3. เมื่อเริ่มใช้ควรอ่านฉลากและเอกสารกำกับยาให้เข้าใจก่อน โดยเริ่มในปริมาณที่น้อยที่สุด และควรมีผู้ดูแลอยู่ด้วยเมื่อเริ่มใช้ หากเกิดผลข้างเคียง ให้รีบนำผู้ป่วยพบแพทย์ทันที
อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ทันที
- หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ เป็นลมหมดสติ เจ็บหน้าอกร้าวไปที่แขน เหงื่อแตก ตัวสั่น
- สับสน กระวนกระวาย วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
- อึดอัด หายใจไม่สะดวก
- เดินเซ พูดไม่ชัด
- หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว อารมณ์แปรปรวน
ผู้ที่ไม่ควรใช้กัญชากัญชง
- บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปี
- สตรีที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว
- โรคจิตจากสารเสพติด โรคจิตเภท มีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตัวเอง
- รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไตที่มีอาการรุนแรง
- มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา
ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรรักษาตามมาตรฐานการแพทย์ก่อน มีผู้ควบคุมขณะทดลองใช้ เนื่องจากกัญชาเป็นพืชที่ให้ทั้งคุณและโทษหากใช้ในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกันกับยารักษาอื่น ๆ ดังนั้นทางเลือกใหม่นี้จะให้ผลดีที่สุดเมื่อใช้อย่างถูกต้องครับ แล้วครั้งหน้า SKY ICT จะมีเรื่องราวอะไรมาแชร์กันอีกนั้นต้องติดตามครับ
ขอบคุณที่มา : กระทรวงสาธารณสุข | Cannhealth