มิจฉาชีพในยุคนี้มาเหนือ! ไม่เว้นแม้แต่ดาราดังอย่าง ชาล็อต ออสติน ที่เพิ่งถูกหลอกให้โอนเงินไปกว่า 4 ล้านบาท! รูปแบบการหลอกลวงมีความซับซ้อนและหลากหลาย ตั้งแต่การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ การหลอกให้ร่วมลงทุนปลอม หรือแม้แต่การใช้เทคนิคทางจิตวิทยาเพื่อกดดันให้เหยื่อหลงเชื่อ
หลายคนสูญเสียเงินจนหมดบัญชี แต่กลับพบว่าไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำได้ แม้จะรู้ตัวผู้โอนต้นทางก็ตาม แต่โชคดีที่เคสของ ชาล็อต ออสตินนี้ เป็นคดีดังและคนให้ความสนใจ จึงทำให้จับตัวคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว เหตุนี้ทำให้การรู้เท่าทันวิธีการของมิจฉาชีพก่อนที่จะโดนหลอกโอนเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
1. อย่าเข้ากลุ่มหรือกลุ่มแชทในแพลตฟอร์มต่างๆ
ข่าวล่าสุดดาราหลงเชื่อจากการให้โอนเงินเข้ากลุ่มเพื่อที่จะขายกระเป๋าแบรนด์เนม โดยวิธีการจะให้โอนเงินจำนวนหนึ่งเพื่อให้สามารถเข้ากลุ่ม แล้วจึงจะสามารถลงขายกระเป๋าได้ จนสูญเงินไปเป็นล้าน ฉะนั้นหากใครให้โอนเงินก่อนให้เอะใจไว้ก่อนเลยว่าโดนหลอกลวงแล้วแน่ๆ
2. อย่าดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่น่าไว้วางใจ
หลายคนชอบโหลดแอปต่างๆที่สามารถช่วยในการแต่งภาพ ตัดวีดีโอ เกม หรือแอปสำหรับช่วยทำงาน ซึ่งบางแอปไม่ได้มีการรับรองจากทางผู้พัฒนาแอปพลินเคชันที่น่าเชื่อถือ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์ของเราได้ เพราะแฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราได้ง่ายๆจากการที่เรากดอนุญาตให้เข้าถึง กล้อง รูปภาพ เสียง หรือตำแหน่งที่ตั้ง นั่นเอง
3. อย่ากดลิ้งค์หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว
ก่อนที่จะกดลิ้งค์ต่างๆที่ส่งมายังอีเมลหรือในข้อความทางโทรศัพท์ควรเช็คให้ดี และห้ามกรอกข้อมูลใดๆเด็ดขาดในลิ้งค์ที่ส่งมา ถ้าไม่รู้หรือไม่แน่ใจควรลองถามคนรอบข้าง ถ้าเป็นเรื่องใหญ่โต เรื่องเงิน เรื่องคดีความ เรื่องพวกนี้ไม่มีใครจะมาตามหรือทำเรื่องทางออนไลน์อย่างแน่นอนเพราะเป็นเรื่องที่ข้อมูลควรเป็นความลับและสำคัญมาก ถ้ารู้อย่างนี้แล้วคิดไว้ก่อนเลยว่าเป็นมิจฉาชีพชัวร์
4. มิจฉาชีพในรูปแบบคอลเซ็นเตอร์และแชท
มิจฉาชีพในรูปแบบการโทรและแชทแพร่ระบาดมีเยอะมาก มีข่าวออกมามากมายแต่คนก็ยังเสียรู้ให้จนได้ มีข้อมูลหนึ่งบอกว่า ถ้ารับสายนานๆอาจทำให้เค้าดูดข้อมูลส่วนตัวในโทรศัพท์ของเราได้ด้วย หรือว่าถ้าหากคุยนานเราก็จะหลงเชื่อและคล้อยตามโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นกันไว้ก่อนถ้าคิดว่าเป็นมิจฉาชีพให้ตัดสายทันที
5. เว็บไซต์เลียนแบบ
มีเว็บไซต์ลอกเลียนแบบมากมายที่เกิดบนโลกอินเตอร์เน็ต ยิ่งเฉพาะเว็บไซต์เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินยิ่งต้องระมัดระวัง และตรวจสอบให้ดีก่อนกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือรหัสผ่านเข้าสู่ระบบต่างๆในหน้าเว็บไซต์ ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ SCB ของธนาคารไทยพาณิชย์ มีเว็บไซต์ที่ลอกเลียนหน้าตาทั้งเว็บไซต์ได้เหมือน100% ชื่อเว็บไซต์ก็เหมือนกันเกือบหมด ต่างกันแค่เพียง1ตัวอักษรเท่านั้น
6. อย่าหลงเชื่อบุคคลอื่น
อย่าหลงเชื่อคนบุคคลที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนในอินเตอร์เน็ต ให้ตรวจสอบโปรไฟล์ของบุคคลที่ติดต่อคุณและตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลก่อนที่จะเชื่อหรือกระทำตาม หากคุณสงสัยว่าถูกมิจฉาชีพหลอกลวง ให้แจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที รวมถึงรายงานโปรไฟล์หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นตกเป็นเหยื่อ
7. ระมัดระวังการใช้ Wifi สาธารณะ
การใช้ Wifi หรืออินเตอร์เน็ตสาธารณะซึ่งไม่มีรหัสผ่านในการเข้าใช้ อาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่แฮ็กเกอร์สามารถใช้ช่องโหว่ในการโจมตีและขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราได้
8. อย่าหลงเชื่อหากมีคนให้ทำธุรกรรมทางราชการออนไลน์
มีเคสที่คนรู้จักโดนมิจฉาชีพปลอมเป็นกรมการขนส่งทางบอกสามารถให้ต่อใบขับขี่ออนไลน์ได้ ซึ่งแพลตฟอร์มที่ใช้หลอกคือผ่านเฟสบุ๊คแชท ให้ต่อใบขับขี่ที่ไม่ต้องไปทำที่กรมการขนส่งทางบก โดยให้โอนเงินไปบัญชีส่วนตัวถึง3รอบ จากนั้นอ้างสารพัดบอกให้โอนเงินเพิ่มถึง6000บาทแล้วจะได้คืนในภายหลัง แล้วจึงจะส่งใบขับขี่ให้ สุดท้ายคนรู้จักยังมีความชั่งใจ คิดว่าโดนหลอกแล้วแน่ๆจึงไม่โอนเงินเพิ่ม หลังจากนั้นรีบไปแจ้งตำรวจและอาญัติบัญชีธนาคาร ฉะนั้นอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด ยังดีที่เคสนี้สูญเงินไปแค่ 3000 กว่าบาทเท่านั้น
ยกตัวอย่างดังเคสต่อไปนี้
- ปลอมเป็นสรรพากรเรียกเก็บค่าภาษี
- ปลอมเป็นขนส่งเรียกเก็บค่าส่งพัสดุแบบให้โอนเงิน
- ปลอมเป็นตำรวจยัดเยียดคดีให้รอรับสายกับตำรวจ แล้วหลอกให้โอนเงินไปมา
- ปลอมเป็นคนรู้จักทักหา ขอยืมเงิน และขอให้โอนเงินให้
- ปลอมเป็นกรมที่ดิน รู้ข้อมูลส่วนตัวและบ้านเลขที่ เรียกเก็บเงิน
- ปลอมทำเป็นโอนเงินผิด แล้วแกล้งบอกให้โอนเงินคืน
- ปลอมเป็นกรมการขนส่งทางบก ให้ต่อใบขับขี่ออนไลน์
วิธีป้องกันตัวให้พ้นจากมิจฉาชีพ
- อย่าให้เบอร์โทรใครมั่วซั่ว หรือแปะเบอร์โทรในที่สาธารณะ
- อย่าเปิดเผยเลขบัญชีธนาคาร หรือแปะคิวอาร์โค้ดรับเงินในที่สาธารณะ
- อย่าโอนเงินคืน หากมีคนบอกโอนเงินผิดมาให้ ให้บอกเค้าว่าไปแจ้งความแล้วติดต่อทางธนาคาร
- อย่ารับสายนาน ห้ามบอกข้อมูลส่วนตัว หากปลายสายชวนคุยหรือหลอกถามข้อมูลส่วนตัว
- อย่าบอกรหัสผ่านต่างๆในโทรศัพท์ หรือรหัสผ่านของแอพพลิเคชั่นต่างๆกับใครถ้าไม่จำเป็น
- อย่าโอนเงินให้ใครเด็ดขาดที่ไม่ใช่คนคุ้นเคยหรือสนิทสนม ให้คิดไว้ก่อนว่ามิจฉาชีพแน่นอน
- อย่าหลงเชื่อหากบอกว่าเรามีคดีฉ้อโกง หรือบอกว่ามีคนทำให้เราจะโดนคดีต่างๆ
- อย่าหลงเชื่อหากบอกข้อมูลเราถูกต้องทุกอย่าง และจะเรียกเก็บภาษี เพราะหน่วยงานรัฐไม่ติดต่อเรื่องเป็นทางการผ่านทางโทรศัพท์แน่นอน
- อย่าหลงเชื่อหากมีคนโทรมาบอกว่าคนสนิทหรือคนรู้จักเกิดอุบัติเหตุและให้โอนเงินให้
นี่เป็นแค่ไม่กี่ตัวอย่าง จริงๆแล้วมิจฉาชีพเผยออกมาให้เห็นในหลายรูปแบบและหลากหลายวิธีการ และหากใครเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ก็ช่วยแชร์ต่อกันไปเยอะๆนะ คนรอบตัวจะได้ไม่โดนหลอก จะได้รู้ทันภัยจากพวกมิจฉาชีพ